Player FM - Internet Radio Done Right
Checked 2d ago
Tilføjet three år siden
Indhold leveret af TK Park. Alt podcastindhold inklusive episoder, grafik og podcastbeskrivelser uploades og leveres direkte af TK Park eller deres podcastplatformspartner. Hvis du mener, at nogen bruger dit ophavsretligt beskyttede værk uden din tilladelse, kan du følge processen beskrevet her https://da.player.fm/legal.
Player FM - Podcast-app
Gå offline med appen Player FM !
Gå offline med appen Player FM !
Knowledge Exchange EP.58 Growing NLB’s Volunteer Community at library@chinatown and Beyond
Manage episode 426013695 series 3038815
Indhold leveret af TK Park. Alt podcastindhold inklusive episoder, grafik og podcastbeskrivelser uploades og leveres direkte af TK Park eller deres podcastplatformspartner. Hvis du mener, at nogen bruger dit ophavsretligt beskyttede værk uden din tilladelse, kan du følge processen beskrevet her https://da.player.fm/legal.
ห้องสมุดทั่วสิงคโปร์นอกจากดำเนินงานโดยเจ้าหน้าที่แล้ว ยังได้รับความช่วยเหลือจากอาสาสมัคร ซึ่งมีบทบาทด้านการดูแลพื้นที่ แนะนำการใช้งาน และจัดกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมเล่านิทานซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุด . ‘อาสาดูแล’ คือโมเดลที่ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริการห้องสมุดแบบ 100% และ library@chinatown คือห้องสมุดแห่งแรกที่เริ่มใช้โมเดลอาสานี้มาดำเนินงาน โดยไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่ประจำ แต่การบริหารจัดการและการให้บริการทั้งหมดดำเนินงานโดยทีมงานอาสาสมัคร . ตัวอย่างโครงการซึ่งห้องสมุดสิงคโปร์ทำงานร่วมกับอาสาสมัคร ได้แก่ KidsREAD โครงการส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็กอายุ 4-8 ปี ที่ด้อยโอกาสทั่วประเทศ ทีมอาสาสมัครมากกว่า 1,000 คน ช่วยทำกิจกรรมกับเด็กๆ สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมงเป็นระยะเวลา 6 เดือน เพียงปีเดียว โครงการนี้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้ามากกว่า 3,200 คน . หัวใจสำคัญในการทำงานร่วมกับอาสาสมัครคือการสร้างความสัมพันธ์และบ่มเพาะความรู้สึกเป็นเจ้าของห้องสมุด กรณี library@chinatown มีป้ายประกาศอย่างชัดเจนว่า ห้องสมุดแห่งนี้ดำเนินงานโดยอาสาสมัคร พวกเขามีเครื่องแบบเพื่อแสดงตัวตนและสร้างความภาคภูมิใจ ห้องสมุดยังจัดพื้นที่พักผ่อนและพูดคุย รวมทั้งจัดงานเทศกาลเฉลิมฉลองตามวาระโอกาสต่างๆ ให้กับอาสาสมัคร . ฟัง...การบรรยายเรื่อง “Growing NLB’s Volunteer Community at library@chinatown and Beyond” บรรยายโดย เมลิสซ่า คาวาโซ (Melissa Kawasoe) ผู้จัดการห้องสมุดกลาง และ library@chinatown และ ลินเน็ตต์ คัง (Lynnette Kang) ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายความร่วมมือ NLB ประเทศสิงคโปร์ บันทึกในโอกาสการประชุม TK FORUM 2023 “Library Possible: The Creative Solutions for Better Library Service”
…
continue reading
281 episoder
Manage episode 426013695 series 3038815
Indhold leveret af TK Park. Alt podcastindhold inklusive episoder, grafik og podcastbeskrivelser uploades og leveres direkte af TK Park eller deres podcastplatformspartner. Hvis du mener, at nogen bruger dit ophavsretligt beskyttede værk uden din tilladelse, kan du følge processen beskrevet her https://da.player.fm/legal.
ห้องสมุดทั่วสิงคโปร์นอกจากดำเนินงานโดยเจ้าหน้าที่แล้ว ยังได้รับความช่วยเหลือจากอาสาสมัคร ซึ่งมีบทบาทด้านการดูแลพื้นที่ แนะนำการใช้งาน และจัดกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมเล่านิทานซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุด . ‘อาสาดูแล’ คือโมเดลที่ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริการห้องสมุดแบบ 100% และ library@chinatown คือห้องสมุดแห่งแรกที่เริ่มใช้โมเดลอาสานี้มาดำเนินงาน โดยไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่ประจำ แต่การบริหารจัดการและการให้บริการทั้งหมดดำเนินงานโดยทีมงานอาสาสมัคร . ตัวอย่างโครงการซึ่งห้องสมุดสิงคโปร์ทำงานร่วมกับอาสาสมัคร ได้แก่ KidsREAD โครงการส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็กอายุ 4-8 ปี ที่ด้อยโอกาสทั่วประเทศ ทีมอาสาสมัครมากกว่า 1,000 คน ช่วยทำกิจกรรมกับเด็กๆ สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมงเป็นระยะเวลา 6 เดือน เพียงปีเดียว โครงการนี้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้ามากกว่า 3,200 คน . หัวใจสำคัญในการทำงานร่วมกับอาสาสมัครคือการสร้างความสัมพันธ์และบ่มเพาะความรู้สึกเป็นเจ้าของห้องสมุด กรณี library@chinatown มีป้ายประกาศอย่างชัดเจนว่า ห้องสมุดแห่งนี้ดำเนินงานโดยอาสาสมัคร พวกเขามีเครื่องแบบเพื่อแสดงตัวตนและสร้างความภาคภูมิใจ ห้องสมุดยังจัดพื้นที่พักผ่อนและพูดคุย รวมทั้งจัดงานเทศกาลเฉลิมฉลองตามวาระโอกาสต่างๆ ให้กับอาสาสมัคร . ฟัง...การบรรยายเรื่อง “Growing NLB’s Volunteer Community at library@chinatown and Beyond” บรรยายโดย เมลิสซ่า คาวาโซ (Melissa Kawasoe) ผู้จัดการห้องสมุดกลาง และ library@chinatown และ ลินเน็ตต์ คัง (Lynnette Kang) ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายความร่วมมือ NLB ประเทศสิงคโปร์ บันทึกในโอกาสการประชุม TK FORUM 2023 “Library Possible: The Creative Solutions for Better Library Service”
…
continue reading
281 episoder
Alle episoder
×1 Knowledge Exchange EP.61 “Why is ‘making change’ cool in Cologne City Library?” (Hannelore Vogt) 27:20
27:20
Afspil senere
Afspil senere
Lister
Like
Liked
27:20ห้องสมุดประชาชนเมืองโคโลญจน์ให้ความสำคัญกับการเข้าถึงหนังสือและการอ่าน เครือข่ายห้องสมุดประกอบไปด้วยห้องสมุดกลาง ห้องสมุดสาขาย่อยอีก 11 แห่ง และ MINIBIB หรือห้องสมุดขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังมีรถห้องสมุด และจักรยานไฟฟ้าซึ่งทำหน้าที่เป็นเมกเกอร์สเปซเคลื่อนที่ให้บริการคนในชุมชน . ฮันเนลอร์ โวกท์ ผู้อำนวยการห้องสมุด ตระหนักดีว่าบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานเพื่อรองรับผู้ใช้รุ่นเยาว์ที่พฤติกรรมการใช้งานแตกต่างไปจากเดิม ห้องสมุดประชาชนเมืองโคโลญจน์ จึงทำหน้าที่เสมือนเป็น ‘เมกเกอร์สเปซ’ คือไม่เพียงแต่ให้พื้นที่เพื่อส่งเสริมการอ่าน เขียน เรียนรู้ ทำกิจกรรมเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้งานห้องสมุดได้ทดลองลงมือทำ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เรียนรู้และสร้างสรรค์ร่วมกัน เปลี่ยนแนวคิดในการทำงานจาก Lifelong Learning เป็น Lifelong Participation . ตัวอย่างกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ที่ห้องสมุดประชาชนเมืองโคโลญจน์คือ กิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่มีธีมใหม่ๆ มาดึงดูดความสนใจนักอ่าน กิจกรรมการเรียนรู้ด้าน STEM ที่รองรับผู้สนใจทุกระดับ ตั้งแต่เด็กเล็กจนถึงวัยทำงานตอนต้น MINT Festival ที่รวมกิจกรรมการเรียนรู้สาย STEM กว่าร้อยรายการ นิทรรศการเคลื่อนที่ที่ย้ายไปจัดในห้องสมุดสาขาต่างๆ โดยทุกกิจกรรมให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีใหม่ๆ เสมอ . ห้องสมุดประชาชนเมืองโคโลญจน์ มีทีมงานกลุ่มเล็กๆ ประมาณ 7-8 คน ที่ทำหน้าที่คิดโปรเจกต์ทดลองที่ทันยุคสมัย โดยทีมงานกลุ่มนี้จะได้รับงบประมาณจำนวนหนึ่งจากห้องสมุด เพื่อลงมือทำโครงการที่ริเริ่มสร้างสรรค์ เพราะคติในการทำงานคือ “เมื่อผู้อื่นเริ่มลงมือทำ เราก็ถึงจุดที่เริ่มแก้ไขปัญหาแรกเรียบร้อยแล้ว”…
1-สัมภาษณ์คุณต้นหลิว
2-สัมภาษณ์คุณแคน
3-สัมภาษณ์คุณพีเจ้น
4-สัมภาษณ์คุณเพชร
5-สัมภาษณ์คุณณัฏร์ภพ
6-สัมภาษณ์คุณร่มเกล้า
7-สัมภาษณ์คุณโบว์ลิ่ง
1 Knowledge Exchange EP.60 The Europe Challenge – Learnings from Libraries and Communities in Europe 30:38
30:38
Afspil senere
Afspil senere
Lister
Like
Liked
30:38มูลนิธิวัฒนธรรมยุโรป (The European Cultural Foundation) ริเริ่มโครงการ The Europe Challenge ที่ส่งเสริมให้ห้องสมุดและชุมชนร่วมมือกันแก้ไขปัญหาในพื้นที่ โครงการที่ผ่านการคัดเลือกจะได้รับเงินสนับสนุนจำนวน 10,000 ยูโร รวมถึงคำปรึกษาและการอบรมพิเศษ มีห้องสมุดและชุมชนต่างๆ เข้าร่วมโครงการแล้วเกือบ 100 แห่ง ทั้งห้องสมุดขนาดใหญ่ ห้องสมุดในเรือนจำ ห้องสมุดโรงเรียน และห้องสมุดที่อยู่บนเกาะห่างไกล ยกตัวอย่างเช่น . โครงการ #HACK โดยห้องสมุดอาร์ฮุสและกลุ่มเยาวชนในเมืองโรเซแลร์ ประเทศเบลเยียม เป้าหมายคือการเข้าถึงกลุ่มผู้ใช้วัยรุ่นให้มากขึ้นผ่านกิจกรรมต่างๆ โดยมี ‘ฮีโร่ท้องถิ่น’ หรือเยาวชนอายุ 16-24 ปี ที่มีทักษะหลากหลายตั้งแต่โปรดิวเซอร์เพลงจนถึงนักออกแบบกราฟิก มาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้กับเยาวชนอื่นๆ ผู้เข้าร่วมโครงการสะท้อนว่า ได้เรียนรู้ที่จะช่วยเหลือกันและกัน รู้สึกใกล้ชิดกับห้องสมุด เสริมสร้างความสัมพันธ์ในชุมชนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น . โครงการ Restart and Repair โดยห้องสมุดประชาชนคอนเซสซิโอร่วมกับชุมชนท้องถิ่นในประเทศอิตาลี มีเป้าหมายคือลดปริมาณขยะจากการบริโภคที่เกินพอดี ส่งเสริมให้ผู้บริโภคได้ซ่อมแซมสิ่งของ และถ่ายทอดความเชี่ยวชาญด้านงานช่างในชุมชน จึงเกิดปาร์ตี้ ‘restart’ เดือนละครั้ง เพื่อเป็นที่นัดพบของอาสาสมัครและผู้ใช้งานห้องสมุดที่ต้องการซ่อมแซมของใช้ในบ้าน เมื่อดำเนินโครงการได้ประมาณ 1 ปี จัดงานไปแล้ว 15 ครั้ง มีผู้ร่วมงานเกือบ 500 คน ถือว่าช่วยชุมชนลดจำนวนขยะและประหยัดค่าใช้จ่ายได้เป็นจำนวนมาก . โครงการ Co-creating Healthcare Solution โดยห้องสมุด เดอ ครูก ร่วมกับ Comon ชุมชนนักวิทยาศาสตร์ นักเทคโนโลยี และนักสร้างสรรค์ จากเมืองเกนต์ ประเทศเบลเยียม ใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ จัดกิจกรรม Make-a-ton สำรวจปัญหา ระดมความคิดกับชุมชนจนได้โจทย์ “เราจะทำให้การดูแลสุขภาพเป็นเรื่องที่เข้าใจง่ายสำหรับชาวเมืองได้อย่างไร?” . นักเรียนนักศึกษาพัฒนางานต้นแบบ และเปิด Experiment Café ให้ประชาชนและกลุ่มผู้ใช้ห้องสมุดได้ทดลองใช้ จนได้ผลิตภัณฑ์ที่นำไปพัฒนาต่อได้ 4 ชิ้นคือ Dolox สมาร์ทวอทช์ที่เป็นนาฬิกาตรวจจับระดับความเจ็บปวด RingMe โปรแกรมช่วยสื่อสารสำหรับคนที่ไม่ใช่เจ้าของภาษาให้เตรียมตัวพบแพทย์ได้สะดวกง่ายดายยิ่งขึ้น Spexter ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น ExplainMed แอปพลิเคชันแปลรายงานทางการแพทย์ให้เป็นคำพูดที่เข้าใจได้ง่ายMia เว็บไซต์ช่วยค้นหาคำแนะนำทางจิตวิทยาที่เหมาะกับผู้ใช้แต่ละคน…
1 Coming to Talk EP.62 ห้องสมุดชุมชนกับการสร้างการเปลี่ยนแปลง 55:21
55:21
Afspil senere
Afspil senere
Lister
Like
Liked
55:21ห้องสมุดในบางประเทศได้รับการส่งเสริมสนับสนุนด้านงบประมาณและการสร้างเครือข่ายจากนโยบายระดับประเทศ ระดับเมือง หรือบางครั้งก็ระดับนานาชาติ แม้ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมาย นโยบาย หรือแผนแม่บทที่ช่วยกำหนดทิศทางและสนับสนุนการทำงานของห้องสมุดอย่างเป็นรูปธรรม แต่ห้องสมุดหลายแห่งก็ปรับภารกิจเป็นเชิงรุก มุ่งทำงานเพื่อเปลี่ยนแปลงสังคม โดยเริ่มต้นจากกิจกรรมเล็กๆ ง่ายๆ ใช้ทรัพยากรที่ห้องสมุดมี ร่วมกับน้ำพักน้ำแรงของเครือข่าย เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อสังคมรอบข้าง . ห้องสมุดรังไหม - พาคาราวานหนอนหนังสือและทีมงานปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ห่างไกล จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่หลากหลายให้เยาวชนผู้ด้อยโอกาส เพื่อลดช่องว่างในการเข้าถึงการเรียนรู้ . ห้องสมุดแมวหางกิ้นส์ - จากหนังสือหนึ่งคันรถและแมวหนึ่งฝูง สู่ห้องสมุดเล็กๆ ที่กลายเป็นพื้นที่เรียนรู้สร้างสรรค์ ชวนเด็กๆ มาเรียนรู้จากกิจกรรม เช่น สำรวจผืนป่าที่เป็นเหมือนห้องเรียนธรรมชาติขนาดใหญ่ . ห้องสมุดยับเอี่ยนฉ่อย – ห้องรับแขก ห้องนั่งเล่น ในย่านเมืองเก่าสงขลา เปิดกว้างให้ผู้คนทั้งในและนอกพื้นที่มาร่วมดำเนินกิจกรรมสร้างสรรค์ สานต่อวัฒนธรรมและภูมิปัญญาให้คงอยู่…
1 Knowledge Exchange EP. 59 Sparking Curiosity through Spirals of Inquiry 39:21
39:21
Afspil senere
Afspil senere
Lister
Like
Liked
39:21“หากต้องการสร้างเด็กให้เป็นคนช่างสงสัย พวกเขาต้องอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยผู้ใหญ่ที่ใคร่รู้” . นี่คือ ข้อเสนอของ ดร.จูดี้ ฮัลเบิร์ต และ ดร.ลินดา เคเซอร์ ผู้ก่อตั้งเครือข่ายการศึกษาแบบสืบเสาะและการศึกษาพื้นถิ่น (NOIIE) ประเทศแคนาดา ทั้งคู่เคยสอนหนังสือและดำรงตำแหน่งครูใหญ่ในโรงเรียนมัธยมก่อนที่จะย้ายมาทำงานสายวิชาการที่มหาวิทยาลัยบริติชโคลัมเบีย จึงมีประสบการณ์ด้านการศึกษาถึงกว่า 23 ปี . ทั้งคู่ร่วมกันเขียนหนังสือเกี่ยวกับ Inquiry-based Learning หลายเล่ม หนึ่งในนั้นคือ The Spiral Playbook ซึ่งแนะนำ ‘เกลียวแห่งการสืบเสาะ’ (The Spiral of Inquiry) เครื่องมือสำคัญที่ช่วยให้ผู้สอนหันมาทบทวนว่า วัตถุประสงค์ในการจัดรูปแบบการเรียนการสอนคืออะไร ผู้เรียนต้องการอะไร ผู้สอนต้องศึกษาอะไรเพิ่มเติม และต้องทำอย่างไรถึงจะเกิดการเปลี่ยนแปลงได้จริง กล่าวง่ายๆ คือการนำกระบวนการสืบเสาะมาใช้ออกแบบการสอนที่สอดคล้องกับบริบทพื้นที่นั่นเอง . ฟังการบรรยายเรื่อง “Sparking Curiosity through Spirals of Inquiry” โดย ดร.จูดี้ ฮัลเบิร์ต และ ดร.ลินดา เคเซอร์ ผู้อำนวยการเครือข่ายการศึกษาแบบสืบเสาะและการศึกษาพื้นถิ่น (NOIIE) ประเทศแคนาดา บันทึกจากงานสัมมนาสาธารณะ ‘Inquiry-based Learning ปลุกความสงสัย จุดไฟการเรียนรู้ตลอดชีวิต’…
1 Knowledge Exchange EP.58 Growing NLB’s Volunteer Community at library@chinatown and Beyond 17:54
17:54
Afspil senere
Afspil senere
Lister
Like
Liked
17:54ห้องสมุดทั่วสิงคโปร์นอกจากดำเนินงานโดยเจ้าหน้าที่แล้ว ยังได้รับความช่วยเหลือจากอาสาสมัคร ซึ่งมีบทบาทด้านการดูแลพื้นที่ แนะนำการใช้งาน และจัดกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมเล่านิทานซึ่งได้รับความนิยมมากที่สุด . ‘อาสาดูแล’ คือโมเดลที่ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการบริการห้องสมุดแบบ 100% และ library@chinatown คือห้องสมุดแห่งแรกที่เริ่มใช้โมเดลอาสานี้มาดำเนินงาน โดยไม่ต้องมีเจ้าหน้าที่ประจำ แต่การบริหารจัดการและการให้บริการทั้งหมดดำเนินงานโดยทีมงานอาสาสมัคร . ตัวอย่างโครงการซึ่งห้องสมุดสิงคโปร์ทำงานร่วมกับอาสาสมัคร ได้แก่ KidsREAD โครงการส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็กอายุ 4-8 ปี ที่ด้อยโอกาสทั่วประเทศ ทีมอาสาสมัครมากกว่า 1,000 คน ช่วยทำกิจกรรมกับเด็กๆ สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมงเป็นระยะเวลา 6 เดือน เพียงปีเดียว โครงการนี้สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้ามากกว่า 3,200 คน . หัวใจสำคัญในการทำงานร่วมกับอาสาสมัครคือการสร้างความสัมพันธ์และบ่มเพาะความรู้สึกเป็นเจ้าของห้องสมุด กรณี library@chinatown มีป้ายประกาศอย่างชัดเจนว่า ห้องสมุดแห่งนี้ดำเนินงานโดยอาสาสมัคร พวกเขามีเครื่องแบบเพื่อแสดงตัวตนและสร้างความภาคภูมิใจ ห้องสมุดยังจัดพื้นที่พักผ่อนและพูดคุย รวมทั้งจัดงานเทศกาลเฉลิมฉลองตามวาระโอกาสต่างๆ ให้กับอาสาสมัคร . ฟัง...การบรรยายเรื่อง “Growing NLB’s Volunteer Community at library@chinatown and Beyond” บรรยายโดย เมลิสซ่า คาวาโซ (Melissa Kawasoe) ผู้จัดการห้องสมุดกลาง และ library@chinatown และ ลินเน็ตต์ คัง (Lynnette Kang) ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายความร่วมมือ NLB ประเทศสิงคโปร์ บันทึกในโอกาสการประชุม TK FORUM 2023 “Library Possible: The Creative Solutions for Better Library Service”…
1 Knowledge Exchange EP.57 Book-Exchange Networks: Connecting Community with Readers 23:09
23:09
Afspil senere
Afspil senere
Lister
Like
Liked
23:09เมื่อปี 2009 ชายชื่อว่า ท็อด โบล ซึ่งอาศัยอยู่ในรัฐวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา สร้างกล่องหนังสือใบเล็กๆ วางไว้ละแวกบ้านเพื่อเป็นเกียรติแก่มารดาของเขา สิ่งที่ดูเหมือนเล็กน้อยได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนมากมาย จนเกิดเป็นโครงการ Little Free Library หรือ ‘ตู้ปันอ่าน’ ปัจจุบันตู้หนังสือลักษณะนี้ขยายตัวออกไปทั่วโลก จนมีมากกว่า 150,000 แห่ง ใน 115 ประเทศ แม้กระทั่งกลางดินแดนน้ำแข็งที่ขั้วโลกใต้ . Little Free Library เชื่อว่า ทุกคนควรได้อ่านหนังสือที่ตัวเองอยากอ่าน โดยไม่ต้องใช้ความพยายามมากนักหรือรอให้เป็นโอกาสพิเศษ บทบาทขององค์กรจึงเกี่ยวข้องกับการขยายโอกาสการเข้าถึงหนังสือ และสร้างแรงบันดาลใจในการอ่าน ด้วยการสนับสนุนให้อาสาสมัครเป็นกลไกสำคัญในการทำงานกับชุมชน . อาสาสมัคร ถูกเรียกกว่า ‘สจ๊วต’ หมายถึงคนในท้องถิ่นที่รับผิดชอบดูแลความเรียบร้อยของห้องสมุด จัดหาหนังสือ และสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชน หลายคนอาจเข้าใจว่า “สร้างห้องสมุดไว้ เดี๋ยวคนก็มาเอง” แต่ความเป็นจริงไม่มีทางเป็นอย่างนั้น สจ๊วตอาจจะเดินเคาะประตูตามบ้าน เดินแจกใบปลิว หรือใช้โซเชียลมีเดีย เพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้ว่า ตอนนี้ละแวกบ้านมีตู้หนังสือให้บริการแล้ว . ทำเลการตั้งตู้หนังสือเป็นไปได้หลากหลาย บางครั้งตั้งอยู่หน้าโรงเรียนเพื่อช่วยให้ผู้ปกครองเลือกหยิบหนังสือไปอ่านกับลูกหลังเลิกเรียน ตั้งไว้หน้าสถานีตำรวจเพื่อสร้างภาพลักษณ์เป็นมิตรและเข้าถึงง่าย ตั้งอยู่ในสวนสาธารณะหรือห้างร้านเพื่อดึงดูดผู้ใช้บริการ แม้แต่ห้องสมุดประชาชนบางแห่งก็ตั้งตู้หนังสือไว้ในชุมชน เพราะประหยัดงบประมาณกว่าการทำห้องสมุดเคลื่อนที่ สจ๊วตจะพิจารณาคัดเลือกหนังสือโดยคำนึงถึงลักษณะของชุมชนนั้นๆ เช่น หากมีประชากรวัยเด็กจำนวนมากก็จะเลือกหนังสือนิทานไว้ให้บริการ . Little Free Library ได้รับรางวัลองค์กรการรู้หนังสือ จากสภาการรู้หนังสือโลก ผู้สนใจทำตู้ปันอ่านสามารถสมัครเป็นสมาชิกเครือข่ายทางเว็บไซต์ littlefreelibrary.org เมื่อห้องสมุดแต่ละแห่งเข้าไปปักหมุดของตนไว้ในแผนที่ ผู้ใช้บริการทั่วโลกก็จะสามารถค้นหาทรัพยากรการอ่านที่อยู่ใกล้ตัวได้ง่าย . ฟัง... การบรรยายเรื่อง “Book-Exchange Networks: Connecting Community with Readers for Everyday Book Access” โดย เกร็ก เมตซเกอร์ (Greig Metzger) ผู้อำนวยการบริหาร Little Free Library สหรัฐอเมริกา บันทึกในโอกาสการประชุม TK FORUM 2023 “Library Possible: The Creative Solutions for Better Library Service”…
1 KnowledgeExchange EP 56. Residents - Tourists Sharing, Beautiful Life Enjoying - Practice... 18:25
18:25
Afspil senere
Afspil senere
Lister
Like
Liked
18:25ไม่กี่ปีที่ผ่านมา จีนเปิดตัวห้องสมุดหลายแห่งซึ่งสร้างกระแสฮือฮาในโลกอินเทอร์เน็ต ห้องสมุดกลายเป็นหมุดหมายห้ามพลาดสำหรับนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะคนวัยหนุ่มสาว เงื่อนไขสำคัญคือ ในปี 2018 กระทรวงวัฒนธรรมและสำนักการท่องเที่ยวของจีน ได้ถูกควบรวมเป็นหน่วยงานเดียวกันชื่อว่า กระทรวงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวแห่งชาติ ทำให้เกิดการบูรณาการกันอย่างกลมกลืนระหว่างสถาบันด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวในภูมิทัศน์แบบใหม่ . สถิติ ปี 2019 ระบุว่า จำนวนคนเข้าห้องสมุดมีมากกว่าจำนวนคนซึ่งไปสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมถึง 2 เท่า ห้องสมุดมีข้อได้เปรียบด้านการเป็นแหล่งรวบรวมทรัพยากรต่างๆ และสามารถช่วยเสริมสร้างบริการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้แข็งแกร่ง ปัจจุบันทั้งภาครัฐและเอกชนหันมาให้ความสำคัญกับการลงทุนด้านห้องสมุดมากขึ้น กรณีที่น่าสนใจ ได้แก่ ห้องสมุดซิ่วโจว ห้องสมุดฉิงเหอ และห้องสมุดคุนหมิง . ดัชนีหรือองค์ประกอบความสำเร็จในการเชื่อมโยงห้องสมุดกับการส่งเสริมการท่องเที่ยว สามารถจำแนกได้เป็น 4 ด้าน ด้านแรก สิ่งดึงดูดใจด้านธรรมชาติหรือกายภาพ เช่น แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ อาคาร สถาปัตยกรรม ด้านที่สอง สิ่งดึงดูดใจเกี่ยวกับตัวบุคคล เช่น บุคคลมีชื่อเสียงในอดีต นักปราชญ์ นักเขียน เซเลบริตี้ ถัดมาคือ สิ่งดึงดูดใจเชิงสังคม คือ การบูรณาการห้องสมุดเข้ากับภาคส่วนอื่นๆ เช่น ห้องสมุดร่วมมือกับที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว หรือสายการบิน จัดทำคอลเลกชันพิเศษเพื่อให้ข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวหรือบริการ และด้านสุดท้ายคือ สิ่งดึงดูดใจจากการให้บริการ เช่น การจัดกิจกรรม ให้ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว จุดชมทิวทัศน์ . ฟัง… การบรรยายเรื่อง “Residents - Tourists Sharing, Beautiful Life Enjoying - Practice, Experience and Prospect for the Integrated Development of Library and Tourism” บรรยายโดย ดร. หยาง หลี่ (Asst. Prof. Yang Li) อาจารย์สาขาการศึกษาและวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหางโจวเตี้ยนจื่อ ประเทศจีน บันทึกในโอกาสการประชุม TK FORUM 2023 “Library Possible: The Creative Solutions for Better Library Service”…
1 KnowledgeExchange EP. 55 ตลาดหนังสือไทย อะไรเป็นอุปสรรคการเข้าถึงการอ่าน 50:11
50:11
Afspil senere
Afspil senere
Lister
Like
Liked
50:11หนังสือราคาแพงเกินไปหรือไม่? . หนังสือในตลาดมีความหลากหลายมากพอไหม? . นี่คือสองประเด็นที่มักจะถูกหยิบยกมาเอ่ยถึง เมื่อมีการตั้งคำถามว่า “คนไทยมีโอกาสเข้าถึงหนังสือได้มากน้อยแค่ไหน” และ “อะไรคืออุปสรรคในการเข้าถึงหนังสือ” . สื่ออิเล็กทรอนิกส์ Data Storytelling ชุด “LOOK AROUND THE SHELF” รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตลาดหนังสือของไทยในฝั่งผู้ผลิตมานำเสนอให้เข้าใจง่าย เริ่มด้วยการนำข้อมูลมาอธิบายพฤติกรรมการอ่าน แม้ยอดขายหนังสือจะมีขึ้นลงตามปัจจัยที่ต่างกันไปในแต่ละปี แต่แนวโน้มที่เห็นได้ชัดคือ คนไทยอ่านหนังสือเล่มลดลง . ตามมาด้วยการเจาะประเด็นความหลากหลายในเชิงหมวดหมู่หนังสือ ที่ข้อมูลชี้ให้เห็นว่า นวนิยาย การศึกษา และหนังสือเด็ก ครองสัดส่วนกว่าครึ่งหนึ่งของตลาดมานานหลายปี แม้หลักฐานยังไม่เพียงพอที่จะบ่งบอกว่า มีความหลากหลายของเนื้อหาหรือไม่ . ประเด็นสำคัญคือ ราคาหนังสือ ที่ในภาพรวมถือว่าสูงเมื่อนำมาเทียบกับอัตราค่าแรงขั้นต่ำ ทำให้ประชาชนที่มีรายได้น้อยไม่สามารถตัดสินใจซื้อหาได้ทันที โดยปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการกำหนดราคาคือขนาดของสำนักพิมพ์ . ในเมื่อมีปัจจัยราคาเป็นโจทย์สำคัญ ภาคส่วนต่างๆ ควรทำอย่างไร เพื่อขับเคลื่อนให้คนไทยมีโอกาสเข้าถึงหนังสือและการอ่านได้อย่างเท่าเทียม? . ฟัง “ตลาดหนังสือไทย อะไรเป็นอุปสรรคการเข้าถึงการอ่าน” โดย วัฒนชัย วินิจจะกูล รักษาการผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันอุทยานการเรียนรู้ บันทึกในโอกาสงานเสวนาและเปิดตัวสื่อ อิเล็กทรอนิกส์ Data Storytelling ชุด “LOOK AROUND THE SHELF”…
Velkommen til Player FM!
Player FM is scanning the web for high-quality podcasts for you to enjoy right now. It's the best podcast app and works on Android, iPhone, and the web. Signup to sync subscriptions across devices.